13 May 2024

พื้นฐานการถ่ายภาพอาหาร

แม้ปัจจุบันทุกคนมีกล้องอยู่ในกระเป๋า แต่เมื่อต้องถ่ายภาพอาหารให้ดีจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากคุณต้องการทำภาพอาหารของร้านให้สวย ต้องเข้าใจก่อนว่าภาพอาหารต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

พื้นฐานการถ่ายภาพอาหาร

การถ่ายภาพอาหารนั้นง่ายกว่าแต่ก่อนมาก เพราะว่าในปัจจุบันเราสามารถถ่ายภาพได้จากมือถือกันแล้ว แต่การถ่ายภาพให้ออกมาสวยงามนั้น ก็ยังต้องใช้ทักษะในการตกแต่งอาหารให้สวยงาม ไม่เพียงแน่บนจานอาหารเท่านั้น แต่จำเป็นต้องตกแต่งไปถึงโต๊ะอาหาร ที่จะส่งเสริมให้อาหารจานนั้น ดูดีขึ้น แล้วอะไรหละ ที่เป็นปัจจัยในการสร้างภาพลักษณ์ให้อาหาร เรามาเริ่มด้วยพื้นฐานการถ่ายภาพ และ พูดคุยเกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพอาหารกันดีกว่านะครับ

Table of Contents

พื้นฐานการถ่ายภาพอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์และด้านเทคนิคหลายๆ คนติดอยู่ในด้านเทคนิคและสงสัยว่ากล้องประเภทไหนถึงจะเหมาะกับการถ่ายภาพอาหารได้ดีที่สุด แต่ความจริงก็คือไม่สำคัญว่าจะใช้กล้องอะไร ด้านความคิดสร้างสรรค์นั้นมีบทบาทสำคัญในการถ่ายภาพอาหารมากกว่า แต่ฝ่ายเทคนิคก็พร้อมที่จะสนับสนุน ดังนั้น สิ่งสำคัญของการถ่ายภาพอาหารก็คือความคิดสร้างสรรค์ก่อน จากนั้นค่อยมาคิดว่าจะใช้เทคนิคอะไรในการถ่ายภาพออกมาตามที่เราต้องการ

  • ไอเดียในการถ่ายภาพ
  • รูปแบบของอาหาร
  • อุปกรณ์ประกอบฉากและพื้นหลัง
  • องค์ประกอบภาพ

พื้นฐานการถ่ายภาพอาหาร: ด้านความคิดสร้างสรรค์

อาหารกับงานศิลปะเป็นของคู่กัน เพราะการที่อาหารที่มีรสชาติอร่อย แต่หน้าตาดูไม่น่ากิน ก็ทำให้อาหารดูไม่น่าสนใจ เชฟจะพิถีพิถันกับอาหารในจานอยู่แล้วในการตกแต่งอาหาร ช่างภาพถ่ายอาหาร มีหน้าที่ถ่ายทอดอาหารจานนั้นให้ลูกค้าเห็นแล้วอยากกินในทันที เราจึงต้องคิดเรื่ององค์ประกอบภาพ และ ความคิดสร้างสรรค์ให้กับอาหาร และนี่คือสิ่งที่เราคิดก่อนที่จะลงมือถ่ายอาหาร

ไอเดียในการถ่ายภาพ

เราต้องการให้ภาพอาหารของเราออกมาในลักษณะอย่างไร?

ขั้นตอนแรกสุดในการถ่ายภาพเราควรจะดูเมนูอาหารว่าเหมาะกับแสงแบบไหน ให้ความสว่าง หรือ โทนดาร์ก เพื่อให้องค์ประกอบของภาพนั้นออกมาดูน่าสนใจมันจะช่วยชี้แนะ ไอเดียเกี่ยวกับรูปแบบอาหาร และอุปกรณ์ประกอบฉาก พื้นผิว รวมถึงแสงที่จะใช้ในการถ่ายภาพอาหาร 

ตัวอย่างที่ดีที่สุดของคุณในการหาไอเดีย คือการท่องเว็บ เปิดนิตยสารอาหาร หรือ ตำราอาหาร หรือดูใน pinterest เพื่อเป็นแนวทางในการถ่ายภาพอาหาร 

เราชอบภาพแบบไหน ชอบภาพอาหารที่ สว่างและแสง over ดูสบายตา หรือ ภาพอาหารที่มืดและมีอารมณ์แปรปรวน ชอบที่จะเห็นภาพสวยงามสมบูรณ์แบบมากขึ้น หรือ ดูเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ

วิธีวางแผนสำหรับไอเดียที่เรียบง่าย

  • ค้นหาภาพตัวอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ
  • เขียนรายการช็อตของเราออกมาโดยละเอียด

mood board คือ Collection รูปภาพ พื้นผิว และสีที่จะช่วยเป็นแนวทางไอเดียของเรา อาจจะวางแผนคร่าวๆ ในการหาของและอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนรายการช็อตคือการวางแผนในการถ่ายภาพในมุมต่างๆ เพื่อให้เราทราบล่วงหน้าว่าต้องการใช้เลนส์ในระยะไหนบ้างใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง การวางแผนใช้มูสบอร์ดและการวางแผนช็อตต่างๆ จะช่วยให้เราจัดระเบียบในการทำงานทั้งก่อนและหลัง ทำให้ไม่ติดขัดระหว่างการทำงาน 

การจัดแต่งอาหาร

การถ่ายภาพอาหารและสไตล์อาหารเป็นของคู่กันถ้าอาหารหน้าตาดูไม่ดีหรืออาหารดูดีแต่ถ่ายได้ไม่ดีภาพก็จะดูไม่ดี (แสงไม่ดีองค์ประกอบภาพไม่ดี) การตกแต่งอาหารนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราทำงานอยู่กับอาหารประเภทไหน สไตล์ไหน ส่วนประกอบของอาหาร มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิ เวลา ที่จะสูญเสียความสดใหม่หรือไม่ เช่น ผักสด , ไอศครีม , ชีส เป็นต้น สิ่งสำคัญคือต้องวางแผนล่วงหน้าสำหรับความแตกต่างประเภทนี้ เพื่อให้คุณสามารถถ่ายภาพอาหารให้ดูดีที่สุดได้

วิธีวางแผนล่วงหน้าสำหรับการจัดรูปแบบอาหารของเราต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  • อาหารต้องคำนึงถึงเวลาหรือไม่
  • เราต้องการเน้นอะไรเกี่ยวกับอาหาร
  • เราต้องการอุปกรณ์เสริมสำหรับการจัดแต่งอาหารเป็นพิเศษหรือเปล่า
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการจัดไฟของคุณและองค์ประกอบ และรับการจัดเตรียมก่อนที่อาหารจะออกมา
  • เราอาจจะเพิ่มบันทึกการตกแต่งอาหารลงไปในรายการอาหารเพื่อจะได้เตรียมพร้อมสำหรับอาหารที่คุณจะถ่าย

จะลืมอะไรก็ได้ อย่าลืมกล้องงงง !!! 555+

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ: เครื่องมือจัดรูปแบบอาหารที่ช่างภาพอาหารทุกคนควรมี

อุปกรณ์ประกอบฉาก และ พื้นหลัง

อุปกรณ์ประกอบฉากและพื้นหลังที่จะช่วยทำให้ภาพนั้นออกมาตามที่เราต้องการการเลิือกสรร อุปกรณ์ประกอบฉาก และพื้นผิวในการถ่ายภาพอาหารเป็นขั้นตอนที่น่าสนุกที่สุด หรือทำให้ไมเกรนกินกันไปเลย 555+

อุปกรณ์ประกอบฉาก

อุปกรณ์ประกอบฉากได้แก่ จาน ชาม ผ้าปูโต๊ะ และ เครื่องแก้ว มีด ช้อน ต่างๆ ที่วางอยู่บนโต๊ะ เมื่อพูดถึงอุปกรณ์ประกอบฉากที่ควรซื้อมาเสริมไอเดียของเรา เราควรใช้อุปกรณ์ที่มีสีกลางๆไม่ควรมีสีที่เด่นกว่าอาหาร ควรเป็นของที่สนับสนุนงาน และทำให้อาหารจานนั้นโดดเด่น

องค์ประกอบ

การจัดองค์ประกอบภาพอาหารคือวิธีจัดอาหารและอุปกรณ์ประกอบฉากในเฟรม การจัดองค์ประกอบภาพต้องอาศัยการฝึกฝนและมีสี่สิ่งที่ควรคำนึงถึง:

  • การวางแนวทาง
  • การจัดมุมภาพ
  • การจัดวาง
  • สี
การวางแนวทาง

การวางแนวทาง คือ การวางอัตราส่วนของภาพ ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้งหรือแนวนอน เราวางแผนไว้ว่าจะเอาภาพไปลงที่ไหน การวางภาพแนวนอนเหมาะที่จะนำไปทำเป็น cover บนเว็บไซต์หน้าแรก ส่วนการวางแนวตั้ง เหมาะที่จะนำไปลงใน app บนมือถือสำหรับ Facebook , Instagram และ pinterest การทำทั้งสองแบบ ก็เป็นทางเลือกที่ดี ทำให้เรานำภาพไปลงบนโซเชียลได้หลากหลาย

การจัดมุมภาพ

การถ่ายภาพอาหารมีมุมที่นิยมถ่ายกัน 3 มุม คือ:

  • มุมบน 90 อาศา
  • มุมตรงด้านข้าง
  • มุม 45 องศา

การเลือกมุมก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่เราจะถ่าย ว่าเน้นรายละเอียดในส่วนไหน ยกตัวอย่างเช่น เบอร์เกอร์เราต้องการเน้นแต่ละชั้นของวัตถุดิบ ขนมปัง เนื้อ ผัก ด้านข้างจึงเป็นมุมที่เหมาะสม หากว่าเป็นซุป ต้มยำที่อยู่ในชาม เราก็ควรจะใช้มุมบน หรือ มุม 45 เพื่อให้เห็นวัตถุดิบในชามได้

การจัดวาง

การจัดวาง คือการใช้ กฎสามส่วน และ จุดตัด 9 ช่อง ในการวางตำแหน่งของอาหาร กฏต่างๆ ที่นำมาใช้ ไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบการจัดวาง ผมใช้วิธีวางอาหารที่จุดตัดเก้าไปก่อน แล้วดูว่ามีอะไรให้ใช้เป็นส่วนประกอบได้บ้าง จากนั้นจึงดูว่าควรนำกฏแบบไหนมาจัดรูปแบบอีกที หวังว่าทุกคนจะเจอมุมที่ใช่นะครับ

สีสัน

มีทฤษฎีสีอยู่หลายอย่างที่เราใช้กัน แต่ทฤษฎีที่ได้รับความนิยม และที่ผมเลือกใช้ก็มีอยู่ 3 แบบ ได้แก่:

  • สีคู่ตรงข้าม (Complimentary) คือสีตรงข้ามกันบนวงล้อของสี คือการใช้สีที่มีความแตกต่างกันทำให้วัตถุที่เราต้องการถ่ายโดดเด่นยิ่งขึ้น
  • สีใกล้เคียง Analogous  เป็นสีที่ผสมสีใกล้เคียงกันให้ความรู้สึกที่กลมกลืนกัน
  • สีโมโนโทน(Monochromatic) คือสีเฉดเดียวกันที่มีความอ่อนลง หรือ เข้มขึ้น ทำให้เป็นการคลุมโทนให้อยู่ในสีเดียวกันได้ง่ายขึ้น

พื้นฐานการถ่ายภาพอาหาร: ทางด้านเทคนิค

หลังจากที่เราวางแผนเรื่องไอเดียในการออกแบบแล้ว เราก็มาวางแผนในเรื่องของเทคนิคในการถ่ายภาพ ว่าประกอบได้ด้วยอะไรบ้าง:

  • แสงสว่าง
  • อุปกรณ์ต่างๆ
  • การตั้งค่ากล้อง
  • การแต่งภาพ

การเลือกใช้แสง

เราจะถ่ายด้วยแสงธรรมชาติ หรือ ไฟสตูดิโอ?

การใช้แสงแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทอาหารที่เราถ่าย หรือบรรยากาศของร้านที่ถ่ายด้วย ยกตัวอย่าง เช่น ถ่ายขนมในคาเฟ่ เราอาจจะอยากสื่อให้ลูกค้าเห็นความน่าทานของขนม กับบรรยากาศที่ดูเป็นธรรมชาติ เราก็จะใช้บรรยากาศในร้านเป็นฉากหลัง เป็นต้น

แสงธรรมชาติ

แสงธรรมชาติคือแสงแดด เป็นแสงขนาดใหญ่ใช้อุปกรณ์น้อย สวยเป็นธรรมชาติแต่มีข้อจำกัด

อย่างแรก คือ ทิศทางของแสงที่เข้าอาจจะขึ้นอยู่กับเวลาที่เราถ่ายภาพ อาจจะต้องขยับโต๊ะ ฉาก เพื่อให้ได้ทิศทางแสงที่เราต้อง

อย่างที่สอง แสงธรรมชาติเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราจะต้องปรับตั้งค่ากล้องให้คำนวนเข้ากับแสงนั้น ทางที่ดีควรใช้ขาตั้งกล้อง เพราะบางที speed shutter อาจจะต่ำเกินไป ทำให้ภาพไม่คมชัด

อย่างที่สาม หากเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาแสงธรรมชาติ เราก็จะทำงานได้เฉพาะตอนที่มีแสงเท่านั้น บางฤดูกาลอาจจะไม่มีแสงแดด เช่น ฤดูฝน หรือ ฤดูหนาว หรือในบางจังหวะ เพียงแค่เมฆบังก็ไม่อาจจะใช้แสงธรรมชาติได้เลย

อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์หลายอย่างที่ช่วยให้การถ่ายภาพนั้น ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น:

  • แผ่นกระจายแสง
  • แผ่นสะท้อนแสงสีขาว
  • แผ่นซับแสงสีดำ

แผ่นกระจายแสง (DIFFUSERS)

บางเวลาแสงที่เข้ามาทางหน้าต่างมีความแข็งจนเกินไป เราจึงจำเป็นต้องใช้แผ่นกระจายแสงเข้ามาช่วย เพียงแค่วางแผ่นกระจายแสงวางกั้นระหว่างแสงที่หน้าต่างกับอาหารที่จัดวางไว้ ก็ทำให้แสงที่กระทบกับอาหาร เป็นแสงที่มีความนุ่มสวยขึ้นทันที

แผ่นสะท้อนแสงสีขาว (REFLECTOR)

แผ่นสะท้อนสีขาวใช้สำท้อนแสงกลับไปที่วัตถุ เพื่อให้แสงในส่วนที่เป็นเงามืดเกินไป ตัวอย่างเช่น หน้าต่างอยู่ด้านขวาของวัตถุ แสงจะสว่างจากด้านขวาและเกิดเงามืดทางด้านซ้ายมือ เราจะใช้แผ่นสะท้อนวางทางด้านซ้ายของวัตถุ เพื่อสะท้อนแสงธรรมชาติกลับเข้ามาเปิดเงาฝั่งซ้ายให้มองเห็นรายละเอียดมากขึ้น 

แผ่นซับแสงสีดำ (BLACK REFLECTOR)

แผ่นสะท้อนสีขาวใช้สำท้อนแสงกลับไปที่วัตถุ เพื่อให้แสงในส่วนที่เป็นเงามืดเกินไป ตัวอย่างเช่น หน้าต่างอยู่ด้านขวาของวัตถุ แสงจะสว่างจากด้านขวาและเกิดเงามืดทางด้านซ้ายมือ เราจะใช้แผ่นสะท้อนวางทางด้านซ้ายของวัตถุ เพื่อสะท้อนแสงธรรมชาติกลับเข้ามาเปิดเงาฝั่งซ้ายให้มองเห็นรายละเอียดมากขึ้น

แสงประดิษฐ์

การถ่ายภาพด้วยแสงไฟสตูดิโอ มีการใช้อุปกรณ์เพิ่มเข้ามา แต่ช่วยให้การทำงานของคุณสะดวก รวดเร็วมากขึ้น ได้แก่ :

  • คุณสามารถควบคุมตำแหน่งของแสงที่ต้องการได้
  • สามารถควบคุมความเข้ม อ่อน แม้แต่สีของแหล่งกำเนิดแสงได้
  • แสงจะคงที่ไม่ว่าฝนจะตก แดดจะออก เช้าหรือเย็น ก็ไม่เป็นปัญหาในการทำงาน
  • ถ่ายภาพได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ

ผมได้เขียนบล็อกแนะนำการใช้งานไฟสตูดิโอและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ตามลิงก์นี้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : การใช้งานไฟสตูดิโอ หรือ แสงแฟลช